Leave a comment

ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

 

 

 

ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ นางนพมาศ หรือ เรวดีนพมาศ เป็นหนังสือที่เชื่อกันว่าแต่งขึ้นในสมัยสุโขทัย ผู้แต่งคือ นางนพมาศ หรือ “ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” แต่หนังสืออาจชำรุดเสียหาย และได้มีการแต่งขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่คงเนื้อหาเดิมของโบราณ เพิ่งมีการชำระและตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2457

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ในคำนำว่า ในเรื่องโวหารนั้น หนังสือเล่มนี้สังเกตได้ว่าแต่งในราวสมัยรัชกาลที่ 2รัชกาลที่ 3 เพราะถ้าเทียบสำนวนกับหนังสือรุ่นสุโขทัย อย่างไตรภูมิพระร่วง หรือหนังสือรุ่นอยุธยา ซึ่งเห็นชัด ว่าหนังสือนางนพมาศใหม่กว่าอย่างแน่นอน และยังมีที่จับผิดในส่วนของเนื้อหา ที่กล่าวถึงชาติฝรั่งต่างๆ โดยเฉพาะอเมริกัน ซึ่งเพิ่งเกิดใหม่

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกราบทูลรัชกาลที่ 5 ว่าหนังสือที่ปรากฏนี้คงไม่ได้เก่าขนาดสุโขทัยเป็นแน่ รัชกาลที่ 5 ก็ทรงเห็นอย่างนั้น แต่มีนักปราชญ์รุ่นก่อนๆ เช่นรัชกาลที่ 4 หรือ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เชื่อว่าน่าจะมีตัวฉบับเดิมที่เก่าแก่ แต่ต้นฉบับอาจชำรุดขาดไป มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ และเล่าสืบกันมาว่าในครั้งรัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระราชนิพนธ์แทรกไว้ตอนหนึ่ง คือ ตอนที่ว่าด้วย “พระศรีมโหสถลองปัญญานางนพมาศ” จนจบ “นางเรวดีให้โอวาทของนพมาศ” ซึ่งกินเนื้อที่ ราว 1 ใน 3 ของเรื่อง


Leave a comment

ต้นทองกวาว

ต้นทองกวาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่

 

ต้นไม้ประจำจังหวัด เชียงใหม่
ชื่อพันธุ์ไม้ ทองกวาว
ชื่อสามัญ Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma Kuntze.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบออกสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองถึงแดงแสด ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีเมล็ดที่ปลายฝัก
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด ที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ

คำขวัญประจำจังหวัดเชียงใหม่

ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์


Leave a comment

ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย

การสถาปนากรุงสุโขทัย

ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัย  ดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือ ลงมา แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงอ่าวไทย อยู่ภายใต้การปกครองของขอม  โดยดินแดนตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไป เป็นอาณาเขตสยาม  มีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง  และดินแดนส่วนใต้ ตั้งแต่ปากน้ำโพ ลงมาถึงอ่าวไทย  เป็นอาณาจักรละโว้  ราวปี  พ.ศ.  1780  พ่อขุนบางกลางหาว (หรือพ่อขันบางกลางท่าว)  เจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขันผาเมือง  เจ้าเมืองราช  ได้ร่วมกันรวบรวมกำลัง เข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ  ของขอม  แล้วสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง  ทรงพระนามว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ปกครองกรุงสุโขทัย  และมีกษัตริย์สืบต่อมารวม  9  พระองค์ ดังนี้

  1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สถาปนาเป็นกษัตริย์  โดยมีสุโขทัยเป็นราชธานี  ประมาณ  พ.ศ.  1781
  2. พ่อขุนบางเมือง  เป็นโอรสองค์ที่สองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  สิ้นรัชกาลราวปี  พ.ศ.  1820
  3. พ่อขันรามคำแหง  พระนามเดิมว่าร่วง  เป็นโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กับนางเสือง  เมื่อชนช้างชนะเจ้าเมืองฉอด  ระบิดาจึงทรงพระราชทานนามว่า  “รามคำแหง”  ทรงครองราชย์ตั้งแต่ราวปี  พ.ศ.  1822
  4. พ่อเจ้าเลอไทย  ครองราชย์ปี พ.ศ. 1843
  5. พระยางั่วนำถม  เริ่มรัชกาลเมืองใด ไม่ปรากฏชัด  แต่สิ้นรัชกาลราว  พ.ศ.  1890
  6. พระมหาธรรมราชาที่  1  (พญาลิไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1890 – 1917
  7. พระมหาธรรมราชาที่  2  (พระเจ้าไสยลือไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1917 – 1942  ช่วง  พ.ศ.  1921  ได้ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
  8. พระมหาธรรมราชที่  3  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1942 – 1962  ได้ย้ายราชธานี จากสุโขทัยมาพิษณุโลก
  9. พระมหาธรรมราชาที่  4  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1962 – 1981  เป็นกษัตริย์วงศ์สุดท้ายแห่งราชวงศ์สุโขทัย

ยุคแรกของอาณาจักรสุโขทัย  มีเมืองใหญ่ที่สุโขทัย และเมืองเชลียง และมีเมืองเล็ก ๆ  อยู่ตามลุ่มแม่น้ำปิง  วัง  ยม  น่าน  ด้านเหนือติดเมืองแพร่  ด้านใต้ติดเมืองพระบาง (คือนครสวรรค์ในปัจจุบัน)  พลเมืองไม่มากนัก

ในสมัยพ่่อขุนรามคำแห่ง ได้มีการแผ่ขยายอาณาเขตไปมากมาย

  • ทิศเหนือ   จดเขตล้านนาไทยที่ลำปาง
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  จดเมืองแพร่  น่าน  พลั่ว (อำเภอปัวในจังหวัดน่าน ปัจจุบัน)  และหลวงพระบาง
  • ทิศตะวันออก  จดเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำ
  • ทิศใต้  จดปลายแหลมมลายู
  • ทิศตะวันตก  ถึงฝั่งมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงเมืองฉอด  หวงสาวดี  ทวาย  และตะนาวศรี

กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้ครองราชย์สืบต่อกันมาเป็นเวลาราว  200  ปี  คือ  ตั้งแต่  พ.ศ.  1780 – พ.ศ.  1981  แต่ในราวปี  พ.ศ.  1983  กลุ่มคนไทยทางตอนใต้กรุงสุโขทัย ได้สถาปนาอาณาจักรบริเวณลุ่มแน่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างขึ้น  โดยมีพระรามาธิบดีที่  1  (พระเจ้าอู่ทอง)  เป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรอยุธยา

อาณาจักรอยุธยาซึ่งมีทำเลที่ตั้งดี  มีกษัตริย์ที่เข้มแข็ง ได้ขยายอำนาจเพิ่มขึ้นตามลำดับ  และสามารถยึดครองอาณาจักสุโขทัยเป็นประเทศราชได้ ในสมัยพระมหาธรรมราชที่  2  และต่อมาในปี  พ.ศ.  1981  ก็ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา