Leave a comment

ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

 

 

 

ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ นางนพมาศ หรือ เรวดีนพมาศ เป็นหนังสือที่เชื่อกันว่าแต่งขึ้นในสมัยสุโขทัย ผู้แต่งคือ นางนพมาศ หรือ “ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” แต่หนังสืออาจชำรุดเสียหาย และได้มีการแต่งขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่คงเนื้อหาเดิมของโบราณ เพิ่งมีการชำระและตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2457

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ในคำนำว่า ในเรื่องโวหารนั้น หนังสือเล่มนี้สังเกตได้ว่าแต่งในราวสมัยรัชกาลที่ 2รัชกาลที่ 3 เพราะถ้าเทียบสำนวนกับหนังสือรุ่นสุโขทัย อย่างไตรภูมิพระร่วง หรือหนังสือรุ่นอยุธยา ซึ่งเห็นชัด ว่าหนังสือนางนพมาศใหม่กว่าอย่างแน่นอน และยังมีที่จับผิดในส่วนของเนื้อหา ที่กล่าวถึงชาติฝรั่งต่างๆ โดยเฉพาะอเมริกัน ซึ่งเพิ่งเกิดใหม่

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกราบทูลรัชกาลที่ 5 ว่าหนังสือที่ปรากฏนี้คงไม่ได้เก่าขนาดสุโขทัยเป็นแน่ รัชกาลที่ 5 ก็ทรงเห็นอย่างนั้น แต่มีนักปราชญ์รุ่นก่อนๆ เช่นรัชกาลที่ 4 หรือ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เชื่อว่าน่าจะมีตัวฉบับเดิมที่เก่าแก่ แต่ต้นฉบับอาจชำรุดขาดไป มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ และเล่าสืบกันมาว่าในครั้งรัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระราชนิพนธ์แทรกไว้ตอนหนึ่ง คือ ตอนที่ว่าด้วย “พระศรีมโหสถลองปัญญานางนพมาศ” จนจบ “นางเรวดีให้โอวาทของนพมาศ” ซึ่งกินเนื้อที่ ราว 1 ใน 3 ของเรื่อง