วรรณคดีไทยสมัยสุโขทัย

โดยทั่วไปกล่าวว่ามี ๕ เรื่อง คือ

๑. หลักศิลาจารึกที่ ๑ หรือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นการบันทึกเรื่องราวต่างๆ

ไว้เป็นหลักฐาน เป็นประโยคสั้นง่าย แต่บางตอนมีลักษณะเป็นกลอน มีศิลปะในการเรียงร้อยถ้อยคำ

๒. ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ซึ่งพระมหาธรรมลิไทโปรดให้จารึกขึ้น เนื้อความเกี่ยวกับ

พระมหากษัตริย์ และพระจริยวัตรของพระองค์

๓. สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณคดีที่ไม่สามารถบอกได้ว่าใครแต่ง มีลักษณะเป็นการสั่งสอน

มีจำนวน ๑๕๘ บท แสดงถึงค่านิยมของคนไทยในอดีต

๔. ไตรภูมิพระร่วง (เดิมเรียกเตภูมิกถา) พญาลิไท ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นการกล่าวถึง

ภูมิทั้ง ๓ คือกามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ

๕. ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีชื่อเรียกว่า นางนพมาศ และเรวดีนพมาศอีกด้วย ตามประวัตินั้น

ผู้แต่งคือ นางนพมาศ ซึ่งเป็นสนมเอกของพระร่วงเจ้า เป็นเรื่องเกี่ยวกับประเพณีในสมัยสุโขทัย เช่น

พิธีลอยกระทง พิธีเผาข้าว เป็นต้น

Leave a comment